ข้อคิด 5 ประการในการให้อาหารน้องสุนัข

1.อย่าตามใจจนมากเกินไป

 เจ้าของต้องทำใจแข็งอย่างหนักหน่วงเมื่อเห็นลูกสุนัขกินอาหารอย่างเอร็ดอร่อยย่อมทำใจลำบากที่จะหยุดน้องสุนัขให้หยุดกินได้ นอกจากนี้ยังให้ขนมขบเคี้ยวหรือขนมหวานล้างปากให้น้องสุนัขอีกด้วย หากคุณมีพฤติกรรมดังกล่าวแนะนำว่าให้เลิกซะ เพราะไม่ดีต่อสุขภาพสุนัข และทำให้น้องสุนัขนิสัยเสียอีกด้วย ทางที่ดีควรวางชามอาหารไว้แค่ 15 นาที จากนั้นก็เก็บ วิธีนี้จะสอนให้เค้ารู้ว่าจะกินได้ก็ต่อเมื่อมีชามอาหารมาให้เท่านั้น

2 .น้ำดื่มอย่าให้ขาด

น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของร่างกาย กว่า 60 % ของร่างกายน้องสุนัขคือ น้ำ ดังนั้นจึงขาดน้ำไม่ได้เด็ดขาด เราต้องเตรียมน้ำสะอาดในภาชนะพร้อมให้ลูกสุนัขกินตลอดเวลา แต่ต้องเลือกภาชนะที่ลูกสุนัขไม่สามารถคว่ำได้ เพราะลูกสุนัขนอกจากจะชอบกินน้ำแล้วยังชอบเล่นน้ำด้วย จึงพบบ่อยว่าน้องสุนัขคว่ำชามน้ำแล้วนอนเล่นน้ำอย่างสบายใจโดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ชอบเล่นน้ำเช่น โกเด้นรีทรีเอร์ และอย่าลืมว่าคุณภาพน้ำที่ให้ลูกสุนัขกินนั้นต้องสะอาด ในระดับที่คนสามารถกินได้ขอให้จำไว้ว่าสุนัขกินน้ำมากก็จะฉี่มากในอีกสองชั่วโมงต่อมา

3 ลูกสุนัขต้องกินวันละกี่มื้อ

 ทั้งนี้ขึ้ยอยู่กับการคำนวนว่าปริมาณที่ลูกสุนัขต้องการต่อวัน นั้นมีจำนวนเท่าไหร่ขอแนะนำว่า
  •     ลูกสุนัขสองเดือนควรทานอาหารวันละ 4 มื้อ
  •    ลูกสุนัขสามเดือนควรทานอาหารวันละ 3 มื้อ
  •    ลูกสุนัข 4 เดือนถึง 1 ปีควรทานวันละ 2 มื้อ

   เพิ่ม Tip สักนิดว่าควรให้อาหารในชามเดียวและบริเวณเดียวกันเสมอเพื่อสร้างวินัยการดินอาหารที่ถูกต้องสำหรับสุนัข

4  หมั่นชั่งน้ำหนักลูกสุนัข

น้ำหนักเป็นตัวชี้วัดการเติบโตของลูกสุนัขได้เป็นอย่างดี เพราะน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงแสดงถึงสภาพวะโภชนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 หนและเปรียบเทียบความเปลี่นแปลง
ของตัวเลขดังกล่าวเพื่อดูว่ามีพัฒนาการเป็นอย่างไร

5 ฝึกนิสัยการกินที่ดีให้กับสุนัข

 ลูกสุนัขบางตัวมีนิสัยหวงของกิน อาจเป็นเพราะกลัวตัวอื่นจะมาแย่งกิน ซึ่งเมื่อโตขึ้นจะทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายสุนัขตัวอื่นหรือไม่ก็กัดคนที่เข้ามาป้วนเปี้ยนใกล้ชามข้าวของเขาหากที่บ้านเลี้ยงสุนัขหลายตัว ปัญหาที่พบบ่อยคือลูกสุนัขชอบไปวุ่นวายกับชามข้าวของสุนัขโต ผลลัพก็คือลูกสุนัขถูกกัดมาเยอะแล้ว ดังนั้นเราต้องหมั่นฝึกนิสัยการกินที่ดีให้กับเขาด้วยการสร้างความคุ้นเคย
ให้ลูกสุนัขไปกับการมีคนไปวุ่นวายขณะกินอาหาร เช่นกินไปลูบตัวลูกสุนัขไปเป็นต้น

อย่าลืมว่าในการเปลี่ยนแปลงในทุกช่วงวัยเจ้าของต้องเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารตามไปด้วยทั้งนี้ไม่ควรหักดิบในทันที เพราะอาจจะทำให้น้องสุนัขท้องเสียได้ เนื่องจากระบบย่อยอาหารที่ผิดไปจากเดิม ควรใช้แผนรักซึมลึกด้วยการค่อยๆเติมอาหารสูตรใหม่ลงไปและค่อยๆลดอาหารสูตรเดิมจนเปลี่ยนครบ 
100 %

โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ,การให้อาหารสุนัข